กายภาพบำบัดที่บ้าน คืออะไร

นักกายภาพบำบัดจะเข้าไปดูแลผู้ที่มีอาการถึงที่บ้าน เป็นการดูแลระยะสั้นๆ หรือเป็นครั้งคราว เช่น  ผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาต ออฟฟิตซินโดรม (office syndrome)  เส้นเอ็นกล้ามเนื้อได้รับความเสียหาย กล้ามเนื้ออ่อนแรงและข้อติดให้ที่บ้านโดยใช้ เครื่องมือกายภาพบำบัดลดปวด เช่น เครื่องอัลตร้าซาวด์ชนิดพกพา แผ่นประคบร้อนไฟฟ้า ฝึกการทรงตัว ฝึกการลุกนั่งบนเตียง ฝึกยืน ฝึกเดิน และฝึกฟังก์ชั่นของแขนขาให้สามารถใช้งานได้ปกติ

เทคนิคบำบัดด้วยมือ (Manual therapy)

  • Deep friction การกดแรงลงไปตรงจุดกดเจ็บของกล้ามเนื้อเพื่อขยายคลายก้อนกล้ามเนื้อกระต้นให้เกิดการไหลเวียน เช่น นวดเปิดท่อน้ำนม

  • Mobilization การตึงขยับข้อต่อ สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะข้อติดแข็ง เช่น โรคข้อไหล่ติด นักกายภาพบบำบัดจะพิจารณาการติดของข้อตรวจกระดูกและกล้ามเนื้อเกี่ยวพันบริเวณที่ดัด ขยับ ดึงให้ยืดหยุ่นและกลับเข้าที่ เพิ่มการเคลื่อนไหวมากขึ้น

  • Exercise Therapy เป็นการออกแบบท่าออกกำลังกายของแต่ละบุคคลโดยการบริหารการยืดกล้ามเนื้อเพื่อปรับสมดุลเพิ่มความยืดหยุ่นและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อป้องกันการบาดเจ็บและการเกร็งตัวของกล้ามนื้อซ้ำอีก

ข้อควรระวังในการกายภาพบำบัด

  • ความถี่ที่เหมาะสมในการทำกายภาพบำบัดในช่วงแรกควรทำต่อเนื่องสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ถ้าทำมากไป กล้ามเนื้ออาจจะเกิดอาการล้า ระบม และอ่อนเพลีย แต่หากทิ้งช่วงการรักษานานเกินไปเป็นสองสัปดาห์ครั้งหรือเดือนละ 1 ครั้ง การรักษาจะเห็นผลช้า

  • หลังกายภาพบำบัดไม่ควรกดบีบนวดกล้ามเนื้อบริเวณที่รักษาเพราะจะทำให้กล้ามเนื้ออักเสบเขียวช้ำได้ง่าย

กายภาพบำบัด มีความสำคัญไหม ไม่ทำได้รึเปล่า

     กายภาพบำบัดมีความสำคัญมากถ้าร่างกายมีความบกพร่อง เช่น อาการปวด  การฟื้นฟูหลังผ่าตัดหากไม่รับการทำกายภาพบำบัดในช่วงเวลาที่เหมาะสมอาการต่างๆจะเรื้อรังและใช้เวลาการรักษานานมากขึ้น

ความแตกต่างระหว่างการนวดกับการกายภาพบำบัด

  • การนวด คือการบีบ คลึง จับ กดจุด หรือใช้ลูกประคบ น้ำมัน สมุนไพรเพื่อให้ร่างกายผ่อนคลายเพื่อแก้อาการปวดเมื่อยส่วนต่าง ๆ อยู่ในชั้นผิวหนังของร่างกาย

  • กายภาพบำบัด คือ การรักษาอาการปวดของกล้ามเนื้อและกระดูก และโรคที่เกิดจากความผิดปกติของร่างกาย โดยจะใช้เครื่องมือกายภาพบำบัด เทคนิคบำบัดด้วยมือ ธาราบำบัด อุปกรณ์กายภาพบำบัด การออกกำลังกายและการยืดกล้ามเนื้อ

Previous
Previous

ฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

Next
Next

8 ขั้นตอน ฟื้นคืนชีพเด็กจมน้ำ (CPR)