ผู้ดูแลมืออาชีพ

  • ผู้ช่วยเหลือคนไข้ / ผู้ช่วยการพยาบาล (NA) โดยจบหลักสูตรการดูแลเด็ก ผู้สูงอายุและผู้ป่วยฟื้นฟู มีความรู้พื้นฐานในด้านการพยาบาล เช่น การวัดความดันโลหิต, การช่วยพยาบาลในการให้น้ำเกลือ, อุปกรณ์ทางการแพทย์ต่างๆ เป็นต้น หากผู้ช่วยเหลือคนไข้ทำงานในโรงพยาบาล จะทำหน้าที่ประสานงานระหว่างแพทย์ พยาบาล และคนไข้ รวมถึงแผนกอื่น ๆ ในโรงพยาบาล เพื่อประโยชน์ของคนไข้เป็นหลัก นอกจากงานดูแลช่วยเหลือคนไข้แล้ว ยังสามารถทำงานในส่วนของการดูแลเครื่องมือ, ยา และเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในหน่วยงาน โดยผู้ช่วยเหลือคนไข้นั้น จะผ่านการเรียนภาคทฤษฎีและปฏิบัติที่โรงเรียนบริบาล ตั้งแต่ 6 เดือน – 1 ปี ขึ้นไป อีกทั้งยังได้รับการเรียนด้านความรู้พื้นฐานของทางพยาบาลอีกด้วย โดยผู้ช่วยเหลือคนไข้ยังสามารถทำงานในศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ศูนย์ดูแลเด็กเล็ก ศูนย์ดูแลผู้ป่วย ศูนย์การแพทย์ หรือสามารถรับงานอิสระเองตามบ้านได้

  • ผู้ดูแลมืออาชีพ (Caregiver) เป็นผู้ดูแลมืออาชีพที่ดูแลผู้ป่วย เช่น ผู้ป่วยที่มีความบกพร่องทั้งทางด้านร่างกายหรือทางด้านจิตใจ โดยให้การช่วยเหลือด้วยกิจกรรมหรือกระบวนการอื่น ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้ป่วยนั้นมีการตอบสนองได้ดีขึ้นจากภาวะบกพร่องทางความสามารถดังกล่าว เช่น การให้อาหาร การเคลื่อนไหวร่างกาย การดูแลความปลอดภัย รวมไปถึงการดูแลเรื่องความสะอาดของผู้ป่วย

    อนึ่ง ด้วยการช่วยเหลือที่ถูกกระบวนการของผู้ดูแลมืออาชีพแต่ละท่าน จะทำให้ผู้ป่วยนั้นมีการตอบสนองดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยทักษะ กลวิธีต่าง ๆ ที่ผู้ช่วยเหลือมืออาชีพที่แต่ละท่านใช้นั้น จะแตกต่างกันไปตามแต่ละระดับของความรุนแรงและความยากง่ายของโรคที่เกิดขึ้น เช่น ผู้ป่วยที่ต้องการรับความช่วยเหลือเป็นผู้ป่วยติดเตียง ผู้ดูแลมืออาชีพจะต้องมีทักษะในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย รวมไปถึงทักษะในการเช็ดตัวผู้ป่วยติดเตียง เป็นต้น

ผู้ช่วยเหลือคนไข้ (Nursing Assistant)

ผู้ช่วยเหลือคนไข้ / ผู้ช่วยการพยาบาล (NA) โดยจบหลักสูตรการดูแลเด็ก ผู้สูงอายุและผู้ป่วยฟื้นฟู มีความรู้พื้นฐานในด้านการพยาบาล เช่น การวัดความดันโลหิต, การช่วยพยาบาลในการให้น้ำเกลือ, อุปกรณ์ทางการแพทย์ต่างๆ เป็นต้น หากผู้ช่วยเหลือคนไข้ทำงานในโรงพยาบาล จะทำหน้าที่ประสานงานระหว่างแพทย์ พยาบาล และคนไข้ รวมถึงแผนกอื่น ๆ ในโรงพยาบาล เพื่อประโยชน์ของคนไข้เป็นหลัก นอกจากงานดูแลช่วยเหลือคนไข้แล้ว ยังสามารถทำงานในส่วนของการดูแลเครื่องมือ, ยา และเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในหน่วยงาน โดยผู้ช่วยเหลือคนไข้นั้น จะผ่านการเรียนภาคทฤษฎีและปฏิบัติที่โรงเรียนบริบาล ตั้งแต่ 6 เดือน – 1 ปี ขึ้นไป อีกทั้งยังได้รับการเรียนด้านความรู้พื้นฐานของทางพยาบาลอีกด้วย โดยผู้ช่วยเหลือคนไข้ยังสามารถทำงานในศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ศูนย์ดูแลเด็กเล็ก ศูนย์ดูแลผู้ป่วย ศูนย์การแพทย์ หรือสามารถรับงานอิสระเองตามบ้านได้

ผู้ดูแลมืออาชีพ (Caregiver)

ผู้ดูแลมืออาชีพ (Caregiver) เป็นผู้ดูแลมืออาชีพที่ดูแลผู้ป่วย เช่น ผู้ป่วยที่มีความบกพร่องทั้งทางด้านร่างกายหรือทางด้านจิตใจ โดยให้การช่วยเหลือด้วยกิจกรรมหรือกระบวนการอื่น ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้ป่วยนั้นมีการตอบสนองได้ดีขึ้นจากภาวะบกพร่องทางความสามารถดังกล่าว เช่น การให้อาหาร การเคลื่อนไหวร่างกาย การดูแลความปลอดภัย รวมไปถึงการดูแลเรื่องความสะอาดของผู้ป่วย

อนึ่ง ด้วยการช่วยเหลือที่ถูกกระบวนการของผู้ดูแลมืออาชีพแต่ละท่าน จะทำให้ผู้ป่วยนั้นมีการตอบสนองดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยทักษะ กลวิธีต่าง ๆ ที่ผู้ช่วยเหลือมืออาชีพที่แต่ละท่านใช้นั้น จะแตกต่างกันไปตามแต่ละระดับของความรุนแรงและความยากง่ายของโรคที่เกิดขึ้น เช่น ผู้ป่วยที่ต้องการรับความช่วยเหลือเป็นผู้ป่วยติดเตียง ผู้ดูแลมืออาชีพจะต้องมีทักษะในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย รวมไปถึงทักษะในการเช็ดตัวผู้ป่วยติดเตียง เป็นต้น