โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease)

โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease) เกิดจากความเสื่อมของเซลล์สมอง โดยเฉพาะส่วนที่สร้างโดพามีน (dopamine) ซึ่งการสื่อสารประสาทจำเป็นต่อการทำงานของด้านสมอง จึงทำให้โดพามีนเกิดมีปริมาณที่ลดลง จึงส่งผลให้เกิดความผิดปกติทางการเคลื่อนไหว

โรคพาร์กินสันมีอาการที่เด่นชัด คือ สั่น, เกร็ง, เคลื่อนไหวช้า

โรคพาร์กินสันยังมีอาการอื่นๆ ที่สังเกตได้ คือ

  • ทรงตัวไม่ดี

  • ความสามารถในการได้กลิ่นลดลง

  • นอนไม่หลับ พลิกตัวไม่ได้

  • มีอาการทางจิต

  • เขียนหนังสือตัวเล็กลง

  • หลังค่อม ตัวงุ่มลง

  • มีอาการขยับแขนขารุนแรงขณะหลับ

  • ความจำระยะสั้นทำงานไม่มีประสิทธิภาพในระยะต้น ความจำเสื่อมในระยะท้าย

สาเหตุของโรคพาร์กินสัน

ณ ปัจจุบันยังไม่ทราบถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคพาร์กินสันอย่างแน่ชัด แต่ในทางการแพทย์เชื่อว่ามีปัจจัยที่อาจส่งผลให้เกิดโรคพาร์กินสันได้ ได้แก่

  • ปัจจัยทางพันธุกรรม ในรายที่มียีนผิดปกติอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคพาร์กินสันได้

  • ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม เช่น การได้รับสารบางอย่างเป็นเวลานานๆ ไม่ว่าจะโดยการสูดดมหรือการรับประทาน หากแต่ยังไม่ทราบว่าสารใดในสิ่งแวดล้อมที่มีส่วนทำให้เกิดโรคพาร์กินสัน

    โรคพาร์กินสันมีทั้งหมด 5 ระยะ

    • ระยะที่ 1 มีอาการเริ่มต้นคือ ระยะนี้จะมีอาการสั่นเมื่อมีการหยุดพัก หรือไม่มีการเคลื่อนไหวใดๆของอวัยวะ เช่น นิ้วมือ แขนเป็นต้น นอกจากนี้จะมีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อเเขน ขา และลำตัวร่วมด้วย

    • ระยะที่ 2 มีอาการจะเริ่มลุกลามไปยังอวัยวะอีกข้างหนึ่ง ผู้ป่วยจะเริ่มหลังงอ เคลื่อนไหวช้าลง หรือเดินตัวโก่งไปข้างหน้า

    • ระยะที่ 3 มีอาการทรงตัวผิดปกติ มีโอกาสหกล้มได้ง่าย เวลาลุกยืนจะลำบาก

    • ระยะที่ 4 ผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองได้น้อยลง อาการสั่นลดลง แต่มีอาการเเข็งเกร็งและเคลื่อนไหวช้ากว่าเดิม ในระยะนี้ควรมีผู้ดูแลอย่างใกล้ชิดเพราะผู้ป่วยอาจจะหกล้มได้ง่าย และไม่สามารถยืนได้

    • ระยะที่ 5 กล้ามเนื้อเเข็งเกร็งมากขึ้นจนผู้ป่วยเคลื่อนไหวไม่ได้เลย กลายเป็นผู้ป่วยติดเตียง มือเท้าหงิกงอ เสียงแผ่วเบา ไม่มีการแสดงความรู้สึกทางสีหน้า ผู้ป่วยไม่สามารถรับประทานอาหารได้ ทำให้ร่างกายซูบผอมลง ทรวงอกเคลื่อนไหวได้น้องลง เสี่ยงต่อการติดเชื้อทางเดินหายใจ

    วิธีการรักษา

    1. การรักษาด้วยตัวเอง คือ ออกกำลังกายและฝึกตามที่นักกายภาพบำบัดแนะนำ

    2. การรักษาทางกายภาพบำบัด

      • ฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ

      • ฝึกการประสานสัมพันธ์ (coordination)

      • ฝึกการทรงตัว

      • ฝึกการเดิน

      • กระตุ้นการรับรู้ 

    การรักษาด้วยยา เป็นการรักษาตามอาการ โดยใช้ยาที่ออกฤทธิ์ที่ระบบโดพามีน

  • การรักษาโดยการผ่าตัดกระตุ้นสมองส่วนลึก (deep brain stimulation) เป็นวิธีการรักษาด้วยการผ่าตัดฝังขั้วไฟฟ้าเพื่อไปกระตุ้นสมอง ใช้สำหรับรักษาผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน ซึ่งเคยได้รับการรักษาด้วยยา แต่มีอาการมากขึ้นจนการรักษาด้วยยาไม่ให้ผลดีเท่าที่ควร

  • การรักษาด้วยยา เป็นการรักษาตามอาการ โดยใช้ยาที่ออกฤทธิ์ที่ระบบโดพามีน

  • การรักษาโดยการผ่าตัดกระตุ้นสมองส่วนลึก (deep brain stimulation) เป็นวิธีการรักษาด้วยการผ่าตัดฝังขั้วไฟฟ้าเพื่อไปกระตุ้นสมอง ใช้สำหรับรักษาผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน ซึ่งเคยได้รับการรักษาด้วยยา แต่มีอาการมากขึ้นจนการรักษาด้วยยาไม่ให้ผลดีเท่าที่ควร

  • ทั้งนี้ แพทย์จะเป็นผู้พิจารณาวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย

Previous
Previous

8 ขั้นตอน ฟื้นคืนชีพเด็กจมน้ำ (CPR)

Next
Next

จุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร