จุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร

จุลินทรีย์ ประกอบไปด้วย แบคทีเรีย (Bacteria) ไวรัส (Viruses) เชื้อรา (Fungi) ปรสิต (Parasites) โดยอยู่แบบพึ่งพาอาศัยกัน (Symbiosis) บางชนิดมีส่วนช่วยป้องกันโรค กระตุ้นกระบวนการเผาผลาญ การย่อยอาหาร และการขับถ่าย บางชนิดช่วยสร้างสารที่จำเป็นต่อร่างกาย เสริมระบบภูมิคุ้มกัน ขณะเดียวกันความผิดปกติของร่างกายบางครั้งอาจเกิดจากการที่จุลินทรีย์ขาดสมดุล

ประโยชน์ของจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร

ด้วยจุลินทรีย์หลากหลายชนิดและปริมาณต่างกันจึงมีบทบาทสำคัญต่างกัน:

  • จุลินทรีย์ที่เป็นอันตรายหรือก่อโรค (เป็นอันตราย/ก่อโรค) ทำให้เกิดโรคโดยการผลิตสารพิษในร่างกาย ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคต่างๆ เช่น Helicobacter pylori เป็นจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรคในกระเพาะอาหาร เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร เนื้องอก และมะเร็งกระเพาะอาหาร จุลินทรีย์ในลำไส้บางชนิดหรือแบคทีเรียในลำไส้มีความเชื่อมโยงกับมะเร็งลำไส้ใหญ่ โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง ได้แก่ โรคอ้วน โรคหัวใจ โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ไขมันพอกตับ โรคตับแข็ง และมะเร็งตับ ฟังก์ชั่นส่งเสริมสุขภาพ แลคโตบาซิลลัส มันยับยั้งและป้องกันการเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรค Eubacteria/Bifidobacterial ช่วยสังเคราะห์สารอาหารที่ร่างกายต้องการ ทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกันเชื้อโรคเพื่อกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันและช่วยในการย่อยอาหารหรือดูดซึมสารอาหาร

จุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร หากมีไม่สมดุล เสี่ยงโรค

หากจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหารไม่สมดุล จะส่งผลต่อสุขภาพต่างๆ ดังนี้

  • อารมณ์แปรปรวน

  • ภาวะซึมเศร้าหรือความวิตกกังวล

  • ภาวะอ้วน

  • โรคผิวหนัง เช่น กลาก

  • โรคหัวใจและหลอดเลือด

  • โรคเบาหวาน

  • มะเร็ง

  • โรคตับ

  • ปัญหาสุขภาพช่องปาก เช่น ฟันผุ

    สัญญาณเตือนว่าอาจมีปัญหาสมดุลจุลินทรีย์ ในระบบทางเดินอาหาร ได้แก่

    • มีอาการระบบทางเดินอาหารผิดปกติ หรือลำไส้แปรปรวน เช่น ท้องอืด ท้องเฟ้อ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย หรือท้องผูก

    • มีปัญหาไมเกรนหรือนอนไม่หลับ

    • เป็นสิวอักเสบ

    • ผู้ที่เป็นผื่นภูมิแพ้ เป็นๆ หายๆ

    • เป็นหอบหืด

    • มีระบบการเผาผลาญไม่ดี

    • มีความเสี่ยงเป็นโรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า โรคอ้วน โรคเบาหวานชนิดที่ 2 และโรคอัลไซเมอร์

    • มีกลิ่นปาก

    • มีเมือกในอุจจาระ

    • รับประทายาปฏิชีวนะเป็นเวลานาน

    • ภาวะแพ้คาร์โบไฮเดรต

    • เหนื่อยล้าหมดแรง

    • ใช้ยาลดกรด เป็นประจำ

    • คัดจมูก

      การเตรียมตัวก่อนรับการตรวจสมดุลจุลินทรีย์ ในระบบทางเดินอาหาร (Gut Microbiome)

      • ไม่ต้องงดน้ำงดอาหารก่อนตรวจ

      • งดยาปฏิชีวนะ ประมาณ 3 วันก่อนตรวจ

      การรักษาสมดุลของจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหารมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อช่วยเสริมสร้างสุขภาพและลดความความเสี่ยงโรคต่างๆ  แนะนำให้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ สะอาด ไม่มีสารพิษปนเปื้อน ลดการใช้ยาปฏิชีวนะหรือใช้เมื่อจำเป็นเท่านั้น  

      เพิ่มการรับประทานอาหารที่มีโพรไบโอติกส์และพรีไบโอติกส์สูง รวมถึงการเข้ารับการตรวจสมดุลจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร ซึ่งสามารถตรวจซ้ำได้ทุกๆ 6 เดือนหลังการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม หรือปฏิบัติตัวตามแพทย์แนะนำ เนื่องจากรูปแบบของจุลินทรีย์อาจมีการเปลี่ยนไปได้ตามปัจจัยที่เปลี่ยนแปลง 

Previous
Previous

โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease)

Next
Next

บริการพยาบาลถึงที่บ้าน..? คืออะไร