5 เหตุผล ทำไมผู้สูงอายุต้อง กายภาพบำบัด
มีใครรู้ไหมว่ากายภาพบำบัดคืออะไร รักษาอะไร และทำไมถึงต้องทำกายภาพบำบัดบ้าง ขอทายว่าหลายคนไม่รู้จักแน่นอน และหลายคนอาจจะรู้จักว่า การทำการภาพบำบัดเหมาะสำหรับผู้สูงอายุ แต่จริงๆแล้ว
การทำกายภาพบำบัดเหมาะสมกับทุกวัย ทั้งเด็ก วัยรุ่น วัยทำงาน และผู้สูงอายุ เพราะนอกจากการฟื้นฟูผู้ป่วยหลังผ่าตัด ผู้ป่วยโรคอัมพฤกษ์-อัมพาต หรือนักกีฬาที่ได้รับบาดเจ็บแล้ว การทำกายภาพบำบัดยังสามารถรักษาคนทั่วไปได้ด้วย ซึ่งเป็นการรักษาอาการปวดทางกล้ามเนื้อต่างๆ เป็นหนึ่งศาสตร์ที่ใช้ฟื้นฟู ที่ดูแลสุขภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ
#MyNurz เรามีบริการนักกายภาพบำบัดวิชาชีพมืออาชีพ ที่มีประสบการณ์ในด้านการกายภาพสำหรับผู้ป่วยระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ โดยนักกายภาพจะทำการฟื้นฟูสมรรถภาพต่างๆ ของร่างกายผู้ป่วยให้มีการตอบสนองที่ดีขึ้น จะเดินทางไปให้การรักษาทางกายภาพถึงที่บ้านหรือสถานที่พักของผู้ป่วย
อาการปวดข้อ บรรเทาลง ต้นตอของความปวด เมื่อมีอาการปวดบวมบริเวณข้อการสรุปเอาเองว่ามีสาเหตุมาจาก วัย หรือ “สงสัยว่าข้อจะเสื่อม” อาจไม่ถูกต้องนัก เพราะในความเป็นจริง
อาการปวดข้ออันเนื่องมาจากข้อเสื่อมนั้นเป็นเพียงหนึ่งในหลาย ๆ สาเหตุของอาการปวดข้อเท่านั้นที่สำคัญสาเหตุส่วนมากไม่เกี่ยวข้องกับวัยหรืออายุเลย อย่าอยู่นิ่ง ผู้ป่วยบางรายอาจเข้าใจว่าภายหลังการผ่าตัดใหม่ ๆ แล้วควรอยู่เฉย ๆ นิ่ง ๆ พักข้อไว้ก่อนเนื่องจากยังมีอาการปวดอยู่ ตรงนี้เป็นความเข้าใจผิด ถึงแม้ว่าจะยังมีอาการปวดอยู่ แต่การที่ผู้ป่วยพยายามเคลื่อนไหวข้อหลังการผ่าตัดเท่าที่จะทำได้ ไม่เพียงช่วยฟื้นฟูพิสัยการเคลื่อนไหวของข้อเท่านั้น ยังช่วยให้ข้อเทียมที่ใส่เข้าไปกระชับเข้าที่ ตลอดจนลดโอกาสในการเกิดภาวะหลอดเลือดอุดตันที่ขา ช่วยฟื้นฟูกำลังกล้ามเนื้อรอบข้อ ซึ่งเป็นการยืดอายุการใช้งานของข้อใหม่อีกด้วย
.
ท่าบริหารง่าย ๆ ที่สามารถทำได้ในช่วงแรก ๆ คือการนอนหงาย แล้วค่อย ๆ งอเข่านำข้อเท้าเข้าหาสะโพกให้มากที่สุดก่อนยืดให้สุดอีกครั้ง ทำซ้ำประมาณ 5-10 ครั้ง วันละ 2-3 รอบ หรือเท่าที่ผู้ป่วยจะทำไหว นอกจากนี้ผู้ป่วยยังควรบริหารกล้ามเนื้อควบคู่ไปด้วยโดยการกระดกข้อเท้าขึ้นลงช้า ๆ ในท่านอน หรือเหยียดเกร็งเข่าโดยมีหมอนรองรับที่ข้อเท้า เป็นต้น ลดอาการปวด อาการปวดเป็นหนึ่งในอุปสรรคสำคัญทำให้ผู้ป่วยไม่อาจขยับข้อเพื่อการฟื้นฟูข้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ป่วยอาจใช้วิธีประคบเย็นวันละ 3-4 ครั้ง ครั้งละ 20 นาที หรือในรายที่ปวดมาก ๆ แพทย์อาจช่วยด้วยยาบรรเทาปวด ใช้อย่างถนอม การผ่าตัดเปลี่ยนข้อจะทำให้ผู้ป่วยกลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีอีกครั้ง แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะสามารถใช้ข้อที่เปลี่ยนใหม่ได้อย่างอิสระเต็มที่เหมือนตอนอายุน้อย ๆ เพื่อรักษาให้ข้อใหม่มีอายุการใช้งานให้นานที่สุด พึงใช้งานอย่างระมัดระวัง หลีกเลี่ยงพฤติกรรมทำลายข้อ อาทิ นั่งยอง ๆ วิ่งขึ้นลงบันได นั่งขัดสมาธิ พับเพียบ หรือนั่งกับพื้น เป็นต้น
.
ปัญหาเรื่องข้อและความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นคงไม่ใช่เรื่องที่หลายคนจะปรับตัวให้ชินได้ง่ายนัก หากต้องแลกมาด้วยการต้องคอยพึ่งพาผู้อื่นตลอดเวลาแม้ในการทำกิจกรรมพื้น ๆ เมื่อสังเกตหรือรู้สึกถึงปัญหา อย่ามองว่าเป็นเรื่องธรรมดา เพราะการปล่อยปละละเลยจนเวลาเนิ่นช้าออกไป เรื่องเล็กๆ อาจกลายเป็นเรื่องใหญ่ที่เปลี่ยนชีวิตคุณได้เลยทีเดียว
กล้ามเนื้อได้ยืดหยุ่น กายภาพบำบัดกล้ามเนื้อ แนวทางลดอาการปวด แก้ปัญหาการอักเสบ รักษาปัญหาอาการทางกล้ามเนื้อเรื้อรัง ทำความรู้จัก “กายภาพบำบัดระบบกล้ามเนื้อ” คืออะไร?
กายภาพบำบัดระบบกล้ามเนื้อ (Orthopedic physical) หรือบางคนอาจเรียกชื่อตรงตัวว่ากายภาพบำบัดแบบออร์โธปิดิกส์ เป็นการกายภาพเพื่อรักษาหรือฟื้นฟูร่างกายจากอาการบาดเจ็บที่เกี่ยวข้องกับกล้ามเนื้อ (Musculoskeletal) ประกอบไปด้วย
- กล้ามเนื้อ
- กระดูก
- เอ็น และเส้นเอ็น
- พังผืด (Fascias)
- เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (Connective tissue)
โดยนักกายภาพบำบัดจะสามารถประเมินอาการของคุณ หรือทำงานร่วมกับแพทย์ที่รักษา เพื่อกำหนดแผนการรักษาที่เหมาะสมกับคุณ
.
ท้ายที่สุด การทำกายภาพบำบัดมีด้วยกันหลากหลายเทคนิคที่สามารถปรับเปลี่ยนให้เหมาะกับอาการของแต่ละคน ทั้งนี้ บทบาทของกายภาพบำบัดไม่ได้จำกัดแค่การรักษาและฟื้นฟูร่างกายจากการเจ็บป่วยหรือ อุบัติเหตุอย่างที่หลายคนคุ้นเคย แต่ยังรวมถึงการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันปัญหาที่อาจส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของร่างกาย เช่น การบริหารร่างกายเพื่อป้องกันอาการบาดเจ็บ การแนะนำวิธีการออกกำลังกายที่ถูกต้อง
ช่วยฝึกพยุงร่างกายตัวเอง เครื่องช่วยพยุงเดิน หรือ เครื่องช่วยเดิน เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญสำหรับผู้ที่ประสบอุบัติเหตุเกี่ยวกับขา ผู้ที่เป็นอัมพาต และผู้สูงอายุที่ประคองตนเองให้ยืนได้อย่างลำบาก
โดยเครื่องช่วยเดินมีหลากหลายลักษณะ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นอุปกรณ์ที่มีที่สำหรับให้มือจับแล้วค่อย ๆ ก้าวออกไป เป็นตัวช่วยเดินที่จะช่วยให้ผู้ใช้งานนั้นเดินได้อย่างสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น หากฝึกใช้เป็นประจำจะช่วยฟื้นฟูกล้ามเนื้อให้เดินอย่างปกติได้
.
ใช้เครื่องช่วยพยุงเดินกับผู้ป่วย การใช้เครื่องช่วยเดินเหมาะกับผู้ป่วยที่ได้รับผลกระทบโดยตรงกับร่างกายบริเวณขาและเท้า โดยส่วนมากมักจะเกิดการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ เช่น การพลัดตกจากที่ค่อนข้างสูง การสะดุด การเล่นกีฬาบางประเภท เช่น ฟุตบอล วิ่ง ทำให้ไม่สามารถใช้งานขาและเท้าได้ตามต้องการ จึงต้องใช้เครื่องช่วยพยุงเดินสำหรับผู้ป่วยที่บาดเจ็บชั่วคราวนั่นเอง
.
ใช้เครื่องช่วยพยุงเดินกับคนพิการ สำหรับคนพิการ แน่นอนว่าจะต้องเหมาะสมกับการใช้เครื่องช่วยเดินอย่างมาก เนื่องจากในชีวิตประจำวันนั้นค่อนข้างจะเคลื่อนไหว ทรงตัว และเดินได้อย่างยากลำบาก การมีเครื่องมือที่ช่วยในการพยุงเดิน จะทำให้สามารถเคลื่อนไหวได้ตามที่ต้องการมากยิ่งขึ้นด้วย เป็นสิ่งสำคัญที่เรียกได้ว่าจำเป็นมาก ๆ สำหรับคนกลุ่มนี้
.
ใช้เครื่องช่วยพยุงเดินกับผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ที่ไม่สามารถเดินได้ดีมากนัก รวมถึงอาจจะมีปัญหาเกี่ยวกับขา ข้อเข่าและข้อเท้าได้อย่างง่ายดายมาก ด้วยเหตุนี้เองการเดินหรือทำกิจกรรมที่ใช้เท้านั้นอาจไม่สะดวกนัก จึงต้องมีการใช้เครื่องพยุงฝึกเดินให้ผู้สูงอายุสามารถเดินด้วยตนเองได้ โดยนิยมใช้ไม้เท้าเป็นเครื่องมือในการพยุงให้เดินได้สะดวก
.
ใช้เครื่องช่วยพยุงเดินกับการกายภาพบำบัด เครื่องช่วยเดินเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เลย สำหรับผู้ที่จำเป็นจะต้องทำกายภาพบำบัด เพื่อให้ร่างกายกลับมาดีขึ้นหรืออยู่ในสภาพที่ปรกติอีกครั้ง แน่นอนว่าผู้ป่วยมักจะทรงตัวไม่ได้หรือทรงตัวได้ไม่ดี ควรเลือกเครื่องช่วยเดินที่มีความแข็งแรง มีมือจับที่สามารถยึดได้อย่างมั่นใจ ที่สำคัญควรอยู่ในความดูแลของคนใกล้ชิดด้วย เพื่อดูแลเมื่อผู้ป่วยล้มหรือไม่สามารถทรงตัวได้
.
เครื่องช่วยพยุงเดิน หรือ เครื่องช่วยเดิน นั้นมีความหลากหลายแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับลักษณะ คุณสมบัติ และการอำนวยความสะดวกให้กับกลุ่มผู้ใช้งานที่มีความต้องการแตกต่างกันด้วย ฉะนั้นแล้วก่อนการเลือกซื้อเครื่องช่วยพยุงเดินก็ควรสำรวจอาการของผู้ใช้งานว่าเหมาะกับตัวช่วยเดินประเภทไหน เพื่อให้การใช้งานเครื่องช่วยเดินนั้นมีประสิทธิภาพและตอบโจทย์การใช้งานมากที่สุด
ทรงตัวได้ดีลดอุบัติเหตุ ความเสื่อมของร่างกายและโรคเรื้อรังต่างๆ ในผู้สูงอายุ
ส่งผลให้ร่างกายไม่แข็งแรงและการทรงตัวได้ไม่ดีพอ จึงทำให้เสี่ยงต่อการพลัดตก หกล้มได้ง่ายกว่าวัยอื่นๆ หลายเท่าตัว บางรายอาจมีแค่อาการบาดเจ็บเล็กน้อยหลังหกล้ม แต่บางรายกลับเกิดการบาดเจ็บรุนแรง เช่น กระดูกหัก ภาวะเลือดคั่งในสมอง อัมพฤกษ์ อัมพาต และรุนแรงที่สุดคือเสียชีวิต แต่ปัญหาดังกล่าวสามารถป้องกันและแก้ไขได้หากเข้าใจถึงความเสี่ยงและการดูแลที่เหมาะสม
.
ปัจจัยเสี่ยงการหกล้มในผู้สูงอายุ
ปัจจัยเสี่ยงต่อการพลัดตก หกล้มในผู้สูงอายุ สามารถแบ่งออกเป็น 3 แบบดังนี้
- ปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพร่างกาย และความสามารถที่ลดลง เช่น การมองเห็นไม่ชัด สายตาผิดปกติ เดินเซ เคลื่อนไหวลำบาก มีการรับรู้ที่ช้า โรคประจำตัว หรือโรคเรื้อรัง เช่น เช่น โรคหลอดเลือด โรคพาร์กินสัน รวมทั้งมีการใช้ยาที่เสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม เช่น ยานอนหลับ ยาลดความดันโลหิต ยาต้านอาการซึมเศร้า หรือมีประวัติการใช้ยามากกว่า 4 ชนิดขึ้นไป
- ปัจจัยเสี่ยงทางพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ขาดการออกกำลังกาย เป็นต้น
- ปัจจัยเสี่ยงจากสิ่งแวดล้อม เช่น พื้นบ้าน พื้นบันได พื้นห้องน้ำลื่นหรือมีสิ่งกีดขวาง แสงสว่างไม่เพียงพอ บันไดไม่มีราวจับ ขั้นบันไดที่สูงชันหรือแคบ รองเท้าของผู้สูงอายุที่ไม่เหมาะสม ไม่สามารถยึดเกาะพื้นได้ดี
.
แนวทางป้องกันพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ
แม้ว่าปัญหาอุบัติเหตุการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุจะเกิดขึ้นได้บ่อย แต่ปัญหาเหล่านี้สามารถป้องกันไม่ให้เกิดขึ้น หรือเสี่ยงที่จะเกิดน้อยลงได้ 7 แนวทาง ดังนี้
- ฝึกการเดิน การทรงตัว และออกกำลังกาย เพื่อเพิ่มความแข็งแรง ของกล้ามเนื้อ เช่น ท่ายืนเขย่งปลายเท้าสลับยืนบนส้นเท้า ทำสลับกัน 10 ครั้ง ท่ายืนงอเข่า ทำสลับกันข้างละ 10 ครั้ง และท่านั่งเหยียดขา ทำสลับกันข้างละ 10 ครั้ง เป็นต้น
- ควรเปลี่ยนท่าช้าๆ เพื่อป้องกันภาวะความดันตกในท่ายืน หน้ามืด วิงเวียน ขณะลุกนั่งหรือยืนทุกครั้ง
- หากการเดินหรือทรงตัวไม่มั่นคง ควรใช้อุปกรณ์ช่วยเดิน เช่น ไม้เท้า โครงเหล็กช่วยเดิน เป็นต้น
- สวมใส่เสื้อผ้า รองเท้าที่มีขนาดพอดี รองเท้าควรเป็นรองเท้าส้นเตี้ย ขอบมน มีหน้ากว้าง และเป็นแบบหุ้มส้น พื้นรองเท้าควรมีดอกยาง ไม่ลื่น
- หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่ไม่จำเป็น และปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้ง
- คนในครอบครัว หรือผู้ดูแลใกล้ชิด หมั่นสังเกตอาการและความผิดปกติทางด้านการรับรู้ เช่น สับสน หลงลืมเกี่ยวกับ วัน เวลา สถานที่ และบุคคล หรือการตอบสนองได้ช้าลงหรือไม่
- ผู้สูงอายุและผู้ที่มีโรคประจำตัวควรเข้ารับการประเมินความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม เช่น เช็คความผิดปกติของการมองเห็น ความผิดปกติของการเดิน การทรงตัว เป็นต้น รวมทั้งปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ เพื่อขอรับคำแนะนำ เกี่ยวกับ การใช้ยา ความผิดปกติในการมองเห็น การเดิน การทรงตัวและการเคลื่อนไหว
ลดการเกิดแผลกดทับ การถูกทำลายเฉพาะที่ของผิวหนังและเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง
โดยเฉพาะบริเวณเหนือปุ่มกระดูก หรือบริเวณที่สัมพันธ์กับการใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์หรืออุปกรณ์อื่นๆ ลักษณะของการบาดเจ็บอาจแสดงในรูปแบบของผิวหนังที่ไม่เกิดการฉีกขาดหรือเกิดเป็นแผล และอาจมีอาการเจ็บปวดร่วมด้วย การบาดเจ็บที่เกิดขึ้นเป็นผลมาจากความรุนแรงของแรงกดและการถูกกดทับเป็นระยะเวลานาน หรือเกิดจากแรงกดร่วมกับแรงไถล ความทนของเนื้อเยื่อต่อแรงกดและแรงไถลยังขึ้นอยู่กับระดับความชื้นบริเวณผิวหนัง ภาวะโภชนาการ ระบบไหลเวียนของเลือดสู่เนื้อเยื่อ ภาวะโรคร่วม และสภาพของเนื้อเยื่อ
.
การจัดระดับแผลกดทับ นั้นอยู่ตามความรุนแรงของแผล โดยมีการจัดอยู่ 4 ระดับ ดังนี้
ระดับที่ 1: ผิวหนังยังไม่เกิดการฉีกขาดมีรอยแดง และรอยแดงยังคงอยู่เมื่อใช้นิ้วมือกดบริเวณ
ผิวหนังที่เป็นรอยแดง
ระดับที่ 2: สูญเสียชั้นผิวหนังบางส่วนจนมองเห็นชั้นหนังแท้ ลักษณะพื้นแผสมีสีชมพูหรือสีแดง มีความชุ่มชื้น หรืออาจพบลักษณะของตุ่มน้ำใส่หรือเป็นตุ่มน้ำใสที่แตก มองไม่เห็นชั้นไขมันหรือชั้นของเนื้อเยื่อที่อยู่ลึกกว่า ไม่พบลักษณะของเนื้อเยื่อใหม่สีแดง
ระดับที่ 3: สูญเสียขั้นผิวหนังทั้งหมด มองเห็นชั้นไขมันในแผล มีเนื้อเยื่อใหม่สีแดง และลักษณะขอบแผลม้วน อาจพบเนื้อตายเปื่อยยุ่ยและ/หรือเนื้อตายแห้งแข็ง
ระดับที่ 4: สูญเสียชั้นผิวหนังทั้งหมด และชั้นเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง มองเห็นหรือสัมผัสชั้นเนื้อเยื่อพังผืด กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูกอ่อน หรือกระดูก ในบริเวณพื้นแผลได้ อาจพบเนื้อตายเปื่อยยุ่ยและ/หรือเนื้อตายแห้งแข็ง มักพบขอบแผลมีลักษณะม้วน มีโพรงใต้ขอบแผลและ/หรือโพรงแผล ระดับความลึกแตกต่างกันตามตำแหน่งทางกายวิภาค ถ้าพื้นแผลถูกปกคลุมด้วยเนื้อตายเปื่อยยุ่ยหรือเนื้อตายแห้งแข็งทั้งหมด จะเป็นลักษณะของแผลกดทับที่ไม่สามารถระบุระดับได้
.
การดูแลแผลกดทับนั้นเป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันการติดเชื้อและส่งเสริมการฟื้นฟูแผล โดยควรระมัดระวังในการดูแลแผลอย่างใกล้ชิดเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อและเพิ่มความเร็วในการฟื้นฟูแผล นอกจากนี้ ยังควรระวังการแตะหรือกดแผลเพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับซ้ำซึ่งอาจทำให้แผลแตกหรือขยายได้ การดูแลแผลกดทับจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ป่วยและผู้ดูแลต้องรับผิดชอบอย่างเต็มความสามารถ โดยไม่ควรละเลยการดูแลแผลเล็กๆ น้อยๆ ที่อาจทำให้เกิดปัญหาใหญ่ๆ ในภายหลัง